Age-Related Eye Diseses โรคตาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

ต้อลมและต้อเนื้อ

http://www.theworldmedicalcenter.com/uploads/ckeditor/c4ca4238a0b923820dcc509a6f75849b/images/A2%20copy.jpg

นิยามของโรค
ต้อลม (ตาลม) เป็นก้อนเนื้อนูนสีขาวเหลืองที่เยื่อบุตาขาว บริเวณข้างกระจกตา เกิดได้ทั้งฝั่งหัวตาและหางตา แต่เกิดที่ฝั่งหัวตามากกว่า ต้อลมจะไม่ลุกลามเข้าไปในกระจกตา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้อลมผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้อลม


ต้อเนื้อ (ตาลิ้นหมา) เป็นก้อนเนื้อสีแดงรูปสามเหลี่ยมซึ่งมีฐานอยู่ที่ตาขาวและยอดแหลมยื่นเข้าไปในกระจกตา เกิดได้ทั้งฝั่งหัวตาและหางตา แต่เกิดที่ฝั่งหัวตามากกว่า ต้อเนื้อจะลามเข้าไปในกระจกตาและมีเส้นเลือดมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก

http://www.theworldmedicalcenter.com/uploads/ckeditor/c4ca4238a0b923820dcc509a6f75849b/images/Pinguecula.jpg

สาเหตุของโรค
ต้อเนื้อและต้อลมมีสาเหตุมาจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (รังสียูวี) ในแสงแดดเป็นเวลานาน ร่วมกับการสัมผัสกับลม ฝุ่น ควัน และความร้อนที่ทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุตา ทำให้เยื่อบุตาสร้างสารประเภทโปรตีนและไขมันมากกว่าปกติจนเกิดเป็นก้อนต้อลมและต้อเนื้อขึ้นมาได้

อาการของโรค
ผู้ป่วยมักจะมีอาการ ตาแดง บวมคันตา  เคืองตา แสบตา  น้ำตาไหล และรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีผงเข้าตา โดยต้อลมจะไม่กระทบต่อการมองเห็น ส่วนต้อเนื้อหากลุกลามเข้าไปในกระจกตามาก ๆ ก็จะกระทบต่อการมองเห็นในที่สุด

แนวทางการป้องกัน
1. ใส่แว่นกันแดด เมื่อออกกลางแจ้ง เพื่อหลีกเลี่ยงรังสี UV ไม่ให้เข้าสู่ดวงตามากเกินไป
2. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีแสงแดง ฝุ่น ควัน ลม เพื่อลดความระคายเคืองตา
3. สวมหมวกปีกกว้าง เมื่อออกกลางแจ้งเพราะแว่นตาไม่สามารถกันแสงแดดจากด้านข้างได้

การรักษา
1. หากเป็นต้อลมและต้อเนื้อไม่มาก มีขนาดเล็ก สามารถปล่อยทิ้งไว้ได้
2. หากเริ่มมีอาการ อักเสบ เคืองตา สามารถใช้น้ำตาเทียมเพื่อลดความระคายเคืองได้ โดยน้ำตาเทียมจะไม่ได้ช่วยให้ต้อมีขนาดเล็กลงแต่อย่างใด แต่จะช่วยให้สบายตามากขึ้น
3. หากต้อเนื้อลุกลามเข้าไปในกระจกตามาก ๆ จนบดบังการมองเห็น วิธีการรักษาคือการผ่าตัดเพื่อลอกต้อเนื้อออก โดยสามารถใช้ยาชาในการผ่าตัดได้ ไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ การผ่าตัดลอกต้อเนื้อออกมี 3 วิธี ได้แก่
3.1 ลอกต้อเนื้อ แบบไม่ปลูกเนื้อเยื่อ วิธีนี้จะลอกต้อเนื้อออกแล้วปล่อยให้เนื้อเยื่อฟื้นตัวกลับมาเอง วิธีนี้ผ่าตัดใช้เวลาน้อย แต่มีโอกาสสูงที่จะกลับมาเป็นต้อเนื้อใหม่อีกครั้ง
3.2 ลอกต้อเนื้อ แบบปลูกเนื้อเยื่อโดยใช้เยื่อบุตาขาว วิธีนี้จะลอกต้อเนื้อออกแล้วเลาะเอาเยื่อบุตาขาวส่วนที่อยู่ใต้เปลือกตาบนมาปลูกเนื้อเยื่อในบริเวณที่ถูกลอกออกไป วิธีนี้จะลดโอกาสของการกลับมาเป็นต้อเนื้อใหม่ เหลือเพียง 5-10% เท่านั้น
3.3 ลอกต้อเนื้อ แบบปลูกเนื้อเยื่อโดยใช้เยื่อรก วิธีนี้จะลอกต้อเนื้อออกแล้วใช้เยื่อรกมาปลูกเนื้อเยื่อแทน จะทำในคนไข้ที่เยื่อบุตามีแผลเป็นมาก หรือคนไข้ต้อหินที่ต้องเก็บเยื่อบุตาเพื่อการผ่าตัดต้อหิน
http://www.theworldmedicalcenter.com/uploads/ckeditor/c4ca4238a0b923820dcc509a6f75849b/images/A3.jpg

การดูแลหลังจากผ่าตัดลอกต้อเนื้อ
1. สวมแว่นกันแดดและหมวกปีกกว้างทุกครั้งเมื่อออกกลางแจ้ง
2. อย่าให้น้ำเข้าตาเป็นเวลา 7-10 วัน
3. ห้ามขยี้ตาเป็นเวลา 14 วัน

4. ควรพบแพทย์ตามที่หมอนัด และหลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองต่าง ๆ เช่น แสงแดง ฝุ่น ลม ควัน เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นต้อเนื้อซ้ำได้อีก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้อลม




อ้างอิง
http://www.rutnin.com/th/eye_knowledge/detail.28.1.html


ตาแห้ง

http://www.laservisionthai.com/sites/default/files/styles/image_content/public/Dryeye.gif?itok=hnUuY52x

นิยามของโรค
โรคตาแห้งเป็นความผิดปกติของฟิล์มน้ำตาอันเนื่องมาจากน้ำตาผลิตออกมาน้อยเกินไปหรือระเหยออกมามากเกินไปนำไปสู่ความไม่สบายตา

สาเหตุของโรค โรคตาแห้งมีสาเหตุมากมาย เช่น
1. Meibomian gland ทำงานผิดปกติ
2. ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ
3. การใส่คอนแทคเลนส์
4. เป็นภูมิแพ้
5. ใช้สายตาระยะใกล้นานเกินไป
6. ใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิต

อาการของโรค
คนไข้ที่เป็นโรคตาแห้งจะมีอาการ เคืองตา, คันตา, รู้สึกเหมือนมีฝุ่นหรือทรายอยู่ในตา, ตาแดง, แพ้แสง, ตามัว หรือ ไม่สบายตาหลังจากตื่นนอน ซึ่งหากปล่อยไว้ให้ไม่รักษา อาจทำให้เปลือกตาอักเสบหรือกระจกตาเป็นแผลได้

การตรวจวินิจฉัยและการรักษา
การตรวจวินิจฉัยโรคตาแห้ง ทำได้หลายวิธี เช่น การซักประวัติ, การตรวจวัดปริมาณและคุณภาพของน้ำตาเป็นต้น ซึ่งหากพบว่าเป็นโรคตาแห้งสามารถรักษาได้หลายวิธี ดังนี้
1. การหยอดน้ำตาเทียม เพื่อให้ดวงตาชุ่มชื้น
2. การนวดและทำความสะอาดเปลือกตา
3. การประคบอุ่นเป็นประจำเช้าเย็น
4. การลดการใช้สายตาระยะใกล้เป็นเวลานาน ๆ
5. การใช้ยาลดการอักเสบกลุ่ม steroid แต่การใช้ยากลุ่มนี้จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น

ผลเสียของโรคตาแห้ง
โรคตาแห้งเป็นสาเหตุสำคัญของโรค Computer vision syndrome (CVS) ซึ่งทำให้เกิดอาการแสบตา ไม่สบายตา ตาแดง หรือเคืองตา โดยโรคตาแห้งจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง  และคุณภาพชีวิตลดลงตามลงไปด้วย นอกจากนี้คนที่ตาแห้งมาก ๆ อาจมีภาวะแทรกซ้อนทำให้ตาบอดได้

http://www.med.cmu.ac.th/dept/eye/2012/images/knowledge_for_people/d3.png


ฟิล์มน้ำตาของคนเรามีทั้งสิ้น 3 ชั้น ได้แก่
1. ชั้นไขมัน (Lipid layer) อยู่นอกสุด สร้างมาจาก meibomian glands ทำหน้าที่ป้องกันการระเหยของน้ำตา
2. ชั้นน้ำ (aqueous layer) เป็นชั้นกลาง สร้างมาจาก lacrimal glands ทำหน้าที่ให้สารอาหาร ช่วยหล่อเลี้ยงกระจกตา และ ฆ่าเชื้อโรค
3. ชั้นเมือก (mucous layer) อยู่ในสุด สร้างมาจาก goblet cells ทำหน้าที่ช่วยยึดเกาะฟิล์มน้ำตากับกระจกตา
http://www.med.cmu.ac.th/dept/eye/2012/images/knowledge_for_people/d2.png
โรคตาแห้งเกิดจากการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือระเหยออกมากเกินไป ซึ่งสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สายตา สิ่งแวดล้อม ภาวะการอักเสบของตา การใส่เลนส์สัมผัส และการใช้ยาบางชนิดซึ่งส่งผลทำให้เกิดตาแห้งได้


วิธีการป้องกันโรคตาแห้ง มีทั้งสิ้น 3 วิธี ได้แก่
1. การใช้น้ำตาเทียม และ ลดการใช้สายตาเป็นเวลานาน
2. หลีกเลี่ยงแสงแดดและลม หรือ สวมแว่นกันแดดกันลม
3. ลดภาวะอักเสบของตา เช่น หยุดใส่เลนส์สัมผัสหรือคอนแทคเลนส์ เป็นต้น

http://www.med.cmu.ac.th/dept/eye/2012/images/knowledge_for_people/d1.png

น้ำตาเทียมคืออะไร มีกี่ชนิด
น้ำตาเทียม เป็น สารหล่อลื่นให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา มี 2 ชนิด ได้แก่
1. มีสารกันเสีย (Preservatives) มีอายุ 1 เดือน ทำออกมาหลายรูปแบบ เช่น เจล หรือ ขี้ผึ้ง
2.ไม่มีสารกันเสีย มีอายุ 1 วัน บรรจุในหลอดขนาดเล็ก หรือ ขวดบรรจุพิเศษที่ไม่ให้อากาศเข้าได้ (COMOD system)

ใช้น้ำตาเทียมเป็นประจำแล้วมีอันตรายหรือไม่
น้ำตาเทียมสามารถใช้ได้ตลอด การใช้น้ำตาเทียมบ่อย ๆ ไม่ส่งผลกระทบต่อการสร้างน้ำตาปกติ เพียงแต่สารกันเสียในน้ำตาเทียมอาจทำให้เกิดการระเคืองตาได้ ดังนั้นน้ำตาเทียมชนิดที่มีสารกันเสียไม่ควรใช้บ่อยกว่า 4 ชั่วโมง ควรไปใช้น้ำตาเทียมชนิดไม่มีสารกันเสียจะดีกว่า นอกจากนี้หากต้องใช้ร่วมกับยาหยอดตาอื่น ควรใช้น้ำตาเทียมชนิดไม่มีสารกันเสีย และ หยอดให้ห่างจากยาอีกชนิดเป็นเวลา 5 นาทีขึ้นไป แต่เนื่องจากน้ำตาเทียมชนิดไม่มีสารกันเสียจะดีกว่าน้ำตาเทียมชนิดที่มีสารกันเสีย ทำให้น้ำตาเทียมชนิดไม่มีสารกันเสียจึงมีราคาแพงกว่านั่นเอง










              อ้างอิง
https://www.bumrungrad.com/th/vision-eye-examination-surgery-center-bangkok-thailand/conditions/dry-eyes http://www.med.cmu.ac.th/dept/eye/2012/index.php?option=com_content&view=article&id=331:2015-10-21-07-27-51&catid=17:knowleadge&Itemid=394