ต้อหิน



นิยามของโรค
ต้อหินเป็นกลุ่มโรคที่มีการเสื่อมของขั้วประสาทตา ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น และเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอดที่เกิดขึ้นทั่วโลก
     ต้อหินเกิดจากการเสื่อมของขั้วประสาทตา ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น และทำให้ตาบอดได้ ปัจจัยหลักมาจากความดันในลูกตาสูงซึ่งเกิดจากการระบายน้ำของลูกตามีการอุดตันและเสื่อมสภาพทำให้ระบายน้ำออกจากลูกตาได้ไม่ดีพอส่งผลให้ความดันภายในลูกตาเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ จนทำลายประสาทตาในที่สุด

กลไกการเกิดต้อหิน
ในลูกตาส่วนหน้ามีการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา (aqueous humor) ซึ่งถูกสร้างจากอวัยวะภายในลูกตาที่เรียกว่า ciliary body ไหลเวียนผ่านช่องระหว่างม่านตาและเลนส์ตาสู่ช่องหน้าลูกตา และไหลเวียนออกจากลูกตาทาง trabecular meshwork คือทางระบายออกของน้ำในลูกตาอยู่ที่มุมตา มีลักษณะเป็นตะแกรง ซึ่งในโรคต้อหินจะมีความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันตาสูงขึ้นและเกิดการทำลายประสาทตาตามมา

โดยทั่วไปโรคต้อหินจะเกิดจากการเสื่อมของร่างกายของผู้ป่วยเอง ซึ่งเป็นภาวะของขั้วประสาทตาที่ถูกทำลาย จากการรายงานไม่พบว่าโรคต้อหินจะเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อลูกตา หรือแม้แต่การเกิดอุบัติเหตุก็มิใช่สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ สาเหตุสำคัญที่สุดที่มีผลต่อการทำลายขั้วประสาทตาคือความดันตาที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะเพิ่มสูงขึ้นเองเนื่องจากเกิดการเสื่อมข้างในลูกตาตามธรรมชาติ หรืออาจมีสาเหตุมาจากการผ่าตัดหรือการใช้ยา โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้

           1. เกิดจากความดันภายในลูกตา (Ocular tension ) ไปทำลายเซลล์และใยประสาทภายในลูกตา โดยมีอาการเป็นไปแบบช้า ๆ ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัว กว่าจะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นปรากฏว่า ผู้ป่วยก็ใกล้จะสูญเสียการมองเห็นแล้ว การรักษาทำได้โดยต้องลดความดันลูกตาให้ต่ำลง
      ความดันลูกตา หมายถึง ระดับความดันของของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ภายในลูกตา มีค่าระหว่าง 5-22 มิลลิเมตรปรอท ผู้ป่วยที่มีความดันตาสูง คือ ผู้ที่มีค่าความดันตามากกว่า 22 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคต้อหิน และหากไม่ทำการรักษาจะส่งผลให้ตาบอดในที่สุด
2. เกิดจากระบบไหลเวียนโลหิต ( Ocular blood flow ) ที่ไหลเวียนเข้ามาหล่อเลี้ยงเซลล์และใยประสาทตาในลูกตาไม่เพียงพอ ส่งผลให้เซลล์และประสาทตาตายไปอย่างช้า ๆ  ทำให้ตาบอดในที่สุด

เปรียบเทียบลักษณะของตาคนปกติกับที่เป็นโรค
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhcvVJjcq18zYrCKBxC2K-WhQKIeDaqzO4KbayAm9tC9z_BaTHB967m-153ClXwrcSz47vlpjaSkQzS4PyYe9BIcFB8HZHrpbXYBS4NLP6LIXl3lS-o63wXKXX7hrfxbFH3YILEdb2dN5sV/s400/8.jpg

ผู้ป่วยส่วนมากไม่มีอาการแสดงในระยะแรก แต่หากไม่ได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้นจะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างช้าๆ โดยเริ่มจากด้านข้างและนำไปสู่การตาบอดในที่สุด ส่วนใหญ่จะพบว่าผู้ป่วยโรคต้อหินเป็นชนิดต้อหินมุมเปิดมากที่สุด โดยมักควบคุมได้ด้วยยาหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรก






ประเภทของต้อหิน    
1.ต้อหินมุมเปิด (primary open angle glaucoma)
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgcyAnEk591z6Bm2u5rNnKeLMmQ_Q5l9tSLBXHarfj-vvHEw44DFf7tNnkzaP9bNR46p8rVJKmfLdv1oYB93D1YiHqwLA3TEB3KoK7HiIyBGuy7HhG54GbygIAIa8qZf6yxsH10g7MyF-qG/s400/3.jpg
จากสถิติ พบว่า มีผู้ป่วยเป็นโรคต้อหินชนิดนี้มากถึงร้อยละ 90 และร้อยละ 80 มีความดันลูกตาสูง ส่วนอีกประมาณร้อยละ 20 จะเป็นชนิดที่มีความดันลูกตาปกติ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต้อหินจะมีช่องตะแกรงระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาอุดตัน ในขณะที่มีช่องด้านหน้าของลูกตาและมุมระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตากว้างตามปกติ เมื่อไม่สามารถระบายน้ำในลูกตาได้สะดวกจะส่งผลให้ความดันตาสูงขึ้น

trabecular meschwork ซึ่งเป็นตะแกรงระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาเกิดการอุดตัน

     ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหินเรื้อรัง
1.ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ (กรรมพันธุ์หรือพันธุกรรม) ถ้ามีญาติพี่น้องเป็นโรคต้อหินก็จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงขึ้น และกลับกันผู้ที่เป็นโรคต้อหินก็มักจะพบว่ามีญาติพี่น้องของตนเป็นโรคนี้ด้วย (มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคต้อหินจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไปถึง 9.2 เท่า)
2.ผู้ที่มีเชื้อชาติแอฟริกัน คนเชื้อชาติแอฟริกันจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหินเรื้อรังมากกว่าคนทั่วไปประมาณ 3-8 เท่า นอกจากนั้นคนแอฟริกันที่มีอายุ 45-65 ปี ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดตาบอดจากต้อหินได้มากกว่าคนในอายุเดียวกันสูงถึง 15 เท่า
3.ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง เพราะโรคเหล่านี้จะทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงขั้วประสาทตาได้น้อยลง จึงอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อหินเรื้อรังก็เป็นได้ นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีโรคข้ออักเสบจากสาเหตุบางอย่าง เช่น โรคข้อรูมาตอยด์ก็มักจะมีโรคม่านตาอักเสบร่วมด้วย ซึ่งเมื่อเป็นเรื้อรังก็จะเกิดโรคต้อหินตามมาได้ในที่สุด
4. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีภาวะความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหินมาก เนื่องจากโรคเบาหวานส่งผลให้หลอดเลือดที่จอตาผิดปกติ ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานจึงควรตรวจเช็คให้ละเอียด
5. ผู้ที่มีสายตาสั้นมากกว่า 600 ขึ้นไป มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหินเรื้อรังได้มากกว่าคนสายตาปกติ
6. ผู้ที่มีความดันลูกตาสูงกว่าปกติ
7. ผู้ที่มีกระจกตาบางกว่าปกติ
8. ผู้ที่เคยรักษาด้วยการผ่าตัดทางตา ด้วยโรคต้อกระจก ผ่าตัดเปลี่ยนตา ผ่าตัดจอตา เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคต้อหินเรื้อรังตามมาในภายหลังได้
9.ผู้ที่เคยมีและรับการรักษาโรคเรื้อรังทางตา เช่น ตาขาวอักเสบ ม่านตาอักเสบ เป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคต้อหินเรื้อรังขึ้นมาได้
10.ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา ทั้งจากแรงกระทบกระแทกหรือถูกของมีคม ทั้งที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือผ่านมานานแล้ว ทั้งจากอุบัติเหตุรุนแรงที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือเพียงเล็กน้อยที่เกิดจากการใช้ยาหยอดตาเพียงไม่กี่วัน ซึ่งในระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคต้อหินเรื้อรังได้ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย ๆ คือ การมีเลือดออกในลูกตาหลังได้รับอุบัติเหตุจากการถูกกระแทก
11. ผู้ที่มีประวัติการใช้ยาทั้งชนิดหยอดตาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์หรือยารับประทานบางชนิด เนื่องจากยานี้อาจทำให้ความดันตาสูงขึ้น หากใช้ยานี้ในคนป่วยที่มีความดันลูกตาสูงอยู่ก่อนแล้วก็จะส่งผลให้เป็นโรคต้อหินได้ จากสถิติพบว่าพบว่า หากใช้ยาหยอดตาต่อเนื่องประมาณ 6-8 สัปดาห์ จะทำให้เกิดต้อหินเรื้อรังถึงร้อยละ 35

2.ต้อหินมุมเปิดที่มีความดันตาปกติ (normal-tension glaucoma)
เป็นต้อหินชนิดที่ผู้ป่วยมีลานสายตาและขั้วประสาทตาผิดปกติเข้าได้กับต้อหินเรื้อรังทุกอย่าง แต่มีความดันลูกตาอยู่ในระดับปกติ (ไม่เกิน 21 มม.ปรอท) ซึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะเซลล์ประสาทในจอตา (Retinal ganglion cell) มีความไวต่อสิ่งผิดปกติมาก แม้ความดันลูกตาไม่สูงแต่ก็ถูกทำลายตายลงไปเรื่อย ๆ ได้ การรักษาจึงมีวิธีการเช่นเดียวกับต้อหินเรื้อรัง คือรักษาให้ความดันลูกตาลดลงจากที่เป็นอยู่ ส่วนปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดต้อหินชนิดนี้ คือ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคต้อหินมุมเปิดที่มีความดันลูกตาปกติ มีเชื้อชาติญี่ปุ่น มีประวัติเป็นโรคหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด ความดันโลหิตต่ำในช่วงกลางคืน มีภาวะเส้นเลือดหดตัวง่าย ภาวะเลือดหนืด ไมเกรน หรือโรคทางระบบภูมิคุ้มกันบางชนิด
  เป็นต้อหินชนิดที่ผู้ป่วยมีลานสายตาและขั้วประสาทตาผิดปกติเข้าได้กับต้อหินเรื้อรังทุกอย่าง แต่มีความดันลูกตาอยู่ในระดับปกติ (ไม่เกิน 21 มม.ปรอท) สันนิฐานว่าเซลล์ประสาทในจอตา (Retinal ganglion cell) ถูกทำลายตายลงไปเรื่อย ๆ การรักษาใช้วิธีการเช่นเดียวกับต้อหินเรื้อรัง คือลดความดันลูกตาลง ส่วนปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดต้อหินชนิดนี้ คือ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคต้อหินมุมเปิดที่มีความดันลูกตาปกติ มีเชื้อชาติเอเชีย มีประวัติเป็นโรคหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด ความดันโลหิตต่ำในช่วงกลางคืน มีภาวะเส้นเลือดหดตัวง่าย ภาวะเลือดหนืด ไมเกรน หรือโรคทางระบบภูมิคุ้มกันบางชนิด


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้อหินมุมปิด

3.ต้อหินมุมปิด (angle-closure glaucoma)
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgvzLYboJwMEl175GmA4iThIPEdai2mRKWxkpbxxEUiCgqYZX8LZk5lFo-RgSylw2ePAfmID95TLlhdg0ptKcn8cOQ4XbGgJ0v42LbdKvDvvQGtnfP1YCXkC8QTYiMWojkqXd4qkaHSK0K3/s400/4.jpg
เป็นชนิดที่พบได้น้อยกว่าต้อหินมุมเปิดมาก มีสาเหตุมาจากโครงสร้างของลูกตาที่ผิดแปลกไปจากคนปกติ คือ มีช่องด้านหน้าในลูกตาแคบและตื้น จึงทำให้มีมุมระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา (Anterior chamber angle; เป็นมุมระหว่างกล้ามเนื้อม่านตากับกระจกตา) แคบกว่าปกติ เมื่อมีสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อม่านตาหดตัว (รูม่านตาขยายตัว) ก็จะทำให้มุมระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาถูกปิดกั้น ทำให้เกิดความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างฉับพลัน เป็นผลทำให้เกิดอาการต้อหินเฉียบพลัน ส่วนสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อม่านตาหดตัว ได้แก่ การอยู่ในที่มืด, การมีอารมณ์โกรธ ตกใจ เสียใจ, การใช้ยาหยอดตาที่เข้ากลุ่มอะโทรปีน (Atropine) หรือยาแอนติสปาสโมดิก
พบได้น้อย มีสาเหตุมาจากโครงสร้างของลูกตาที่ผิดไปจากปกติ คือ มีช่องด้านหน้าในลูกตาแคบและตื้น (Anterior chamber) จึงทำให้มีมุมระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา (เป็นมุมระหว่างกล้ามเนื้อม่านตากับกระจกตา) แคบกว่าปกติ เมื่อกล้ามเนื้อม่านตาหดตัว รูม่านตาจะขยาย ก็จะทำให้มุมระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาถูกปิดกั้น น้ำในลูกตาไม่สามารถระบายออกได้ทำให้เกิดความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างฉับพลัน เป็นผลทำให้เกิดอาการต้อหินเฉียบพลัน ส่วนสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อม่านตาหดตัว ได้แก่ การอยู่ในที่มืด, การมีอารมณ์โกรธ ตกใจ เสียใจ, การใช้ยาหยอดตาที่เข้ากลุ่ม Atropine หรือ Antispasmodics ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อม่านตาหดตัว รูม่านตาขยาย
และอีกสาเหตุคือม่านตาติดกับเลนส์ทำให้น้ำในลูกตานั้นไม่สามารถมาที่ช่องด้านหน้าในลูกตาได้ความดันในลูกตาจึงเพิ่มมากขึ้นอย่างเฉียบพลัน ไปกดขั้วประสาททำให้ขั้วประสาทถูกทำลาย การมองเห็นจึงแคบลงเริ่มจากด้านข้างเข้ามาจนบอดในที่สุดถ้าไม่ได้รับการรักษา

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหินเฉียบพลัน
1. จากสถิติพบว่า เพศหญิงเป็นโรคนี้มากกว่าเพศชาย
2. ชนชาติเอเชียมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหินชนิดมุมปิดได้มากกว่าชาติอื่น เนื่องจากมุมระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตามีความแคบกว่าชาวยุโรปหรืออเมริกันถึง 9 เท่า ซึ่งเป็นโครงสร้างทั่วไปของชาวเอเชีย
3.ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ทุกคน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่แก้วตาจะหนาตัวมากขึ้นตามอายุและทำให้ช่องด้านหน้าในลูกตาที่แคบอยู่แล้วยิ่งแคบมากขึ้นไปอีก จึงมีโอกาสเกิดต้อหินได้มากขึ้น จึงมักพบโรคนี้ในคนอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
4. ผู้ที่มีผู้ที่มีสายตายาว เนื่องจากมีลักษณะกระบอกตาสั้นและช่องด้านหน้าในลูกตาแคบ   
5.ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ (กรรมพันธุ์หรือพันธุกรรม) เพราะโรคนี้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ จึงมักพบพ่อแม่พี่น้องของผู้ป่วยเป็นโรคนี้ร่วมด้วย
6.สาเหตุอื่น ๆ เช่น เกิดจากโรคตาบางอย่าง (เช่น เป็นต้อกระจกที่ต้อแก่แล้วและไม่ได้รับการผ่าตัด แต่ส่วนใหญ่แล้วโรคนี้จะเกิดขึ้นฉับพลันโดยไม่มีโรคตาอื่น ๆ นำมาก่อน) หรือเกิดจากอุบัติเหตุจนแก้วตาเคลื่อนไปจากเดิม เป็นต้น


 3.ต้อหินมุมปิดแบ่งออกเป็น
 3.1 ต้อหินมุมปิดชนิดเฉียบพลัน (Acute angle-closure glaucoma – AACG) 
โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เป็นภาวะฉุกเฉินโดยผู้ป่วยมีอาการภายใน 1-2 วัน ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยจะมีปวดตาอย่างรุนแรง ความดันตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอาการปวดศีรษะ ตาแดง น้ำตาไหล ตาสู้แสงไม่ได้ เกิดอาการตามัว มองเห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ และมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
   3.2 ต้อหินมุมปิดชนิดกึ่งเฉียบพลัน 
อาการในกลุ่มนี้จะค่อนข้างน้อยและเป็น ๆ หาย ๆ ผู้ป่วยอาจมีแค่อาการปวดศีรษะเล็กน้อยเป็นครั้งคราว ซึ่งการวินิจฉัยจะค่อนข้างยากหากไม่ได้รับการตรวจตา ผู้ป่วยมักได้รับการรักษาแบบโรคปวดศีรษะมาเป็นเวลานานโดยไม่ทราบว่าเป็นโรคต้อหิน
   3.3 ต้อหินมุมปิดชนิดเรื้อรัง (Chronic angle-closure glaucoma – CACG)
 อาการของโรคเป็นไปอย่างช้า ๆ ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบอาการในระยะแรก
4.ต้อหินชนิดแทรกซ้อน (Secondary glaucoma)
เป็นต้อหินที่เป็นผลมาจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อกระจกแล้วไม่ได้รับการรักษา เกิดปานแดงปานดำในลูกตา เนื้องอกในลูกตา เกิดการอักเสบภายในลูกตาหรือยูเวียอักเสบ (Uveitis) และเป็นซ้ำ ๆ ม่านตาอักเสบ
เม็ดสีของตาหลุดไปอุดท่อระบาย (Pigmentary glaucoma) ได้รับอุบัติเหตุทำให้มีเลือดออกในลูกตา หรือหลอดเลือดในตาฉีกขาด หรือได้รับแรงกระแทกบริเวณลูกตาทำให้เกิดพังผืดบริเวณที่มุมระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ในบางครั้งอาจเกิดจากผลข้างเคียงภายหลังการผ่าตัดทางตา หรือการใช้ยาหยอดตาสเตียรอยด์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ฯลฯ
 5.ต้อหินแต่กำเนิด (congenital glaucoma)
เป็นลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้เกิดโรคนี้ได้แต่กำเนิด ซึ่งพบได้ไม่มากนักแต่มีอาการค่อนข้างรุนแรงและควบคุมโรคได้ยาก ทำให้ตาบอดได้หากไม่ได้รับการรักษาในระยะแรก
 6.ต้อหินทุติยภูมิ (secondary glaucoma) 
เป็นต้อหินที่ได้รับผลกระทบมาจากโรคทางตาอื่น ๆ หรือโรคทางร่างกาย เช่น เคยประสบอุบัติเหตุทางดวงตา การอักเสบในลูกตา เกิดเนื้องอกในตา โรคเบาหวานขึ้นตา ต้อกระจก รวมถึงการใช้ยาบางชนิดที่มีสารสเตียรอยด์ ในการรักษาจึงขึ้นอยู่กับระดับความดันของลูกตาที่สูงขึ้น
 7. ภาวะสงสัยต้อหิน (Glaucoma suspect) 
เป็นภาวะที่พบในบางคนที่มีอาการบางอย่างเหมือนต้อหินเรื้อรัง แต่อาการยังไม่ครบทุกข้อที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อหินเรื้อรังได้ จึงเรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่า “อยู่ในกลุ่มสงสัย” หรือ “ภาวะสงสัยต้อหิน” ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีความดันลูกตาสูงอย่างเดียว (มากกว่า 21 มม.ปรอท) โดยที่ลานสายตามีรอยหวำในขั้วประสาทตาขนาดยังปกติ หรือมีรอยหวำในขั้วประสาทตาใหญ่หรือกว้างขึ้น เรียกว่า “Large cupping” หรืออาจเป็นผู้ป่วยที่มีลานสายตาผิดปกติโดยไม่พบสาเหตุ โดยที่ความดันลูกตาและรอยหวำยังปกติก็ได้ กล่าวคือ โดยรวม ๆ แล้วผู้ป่วยในภาวะสงสัยต้อหินจะเป็นผู้ป่วยที่มีความผิดปกติยังไม่ครบตามลักษณะของต้อหินเรื้อรัง ซึ่งแพทย์จะเฝ้าติดตามอาการเป็นระยะ ๆ โดยยังไม่ให้การรักษา เพราะผู้ป่วยบางรายอาจพบความผิดปกติครบตามลักษณะต้อหินเรื้อรังในเวลาต่อมา หรือบางรายความผิดปกติอาจจะอยู่อย่างนั้นไม่กลายเป็นต้อหินเรื้อรังก็ได้ ซึ่งในบางครั้งแพทย์จะเรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ตามความผิดปกติที่ตรวจพบ เช่น เรียกว่า “มีความดันลูกตาสูง” (Ocular hypertension) หรือ “มีรอยหวำกว้าง” (Large cupping) โดยไม่ใช้คำว่า “ต้อหิน” หรือ “สงสัยต้อหิน”

อาการของโรคต้อหิน
 อาการต้อหิน แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
            1.อาการต้อหินเฉียบพลัน (Acute glaucoma)
ผู้ป่วยจะมีอาการหลัก 3 อย่าง ซึ่งทั้ง 3 อย่างจะทำให้ผู้ป่วยทรมานทั้งสิ้น ได้แก่ “ปวดตา (ส่วนใหญ่จะปวดศีรษะข้างเดียวกันร่วมด้วย และอาจร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน), ตาแดง
น้ำตาไหล (ภายใน 30-60 นาที) และตามัว การมองเห็นลดลง มองเห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ (ซึ่งอาจทำให้ตาบอดตามมาอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วันหากรักษาไม่ทัน)” อาการตามัวส่วนใหญ่มักจะมัวมากจนถึงขั้นมองเห็นหน้าคนไม่ชัด อาการปวดตามาก (บางคนอาจปวดศีรษะมากร่วมด้วย) ปวดจนอาเจียน ซึ่งความรุนแรงของอาการหลักทั้ง 3 อย่างจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย แต่ส่วนมากจะเป็นค่อนข้างมาก
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดตา ตาแดง ตามัว มองเห็นแสงสีรุ้งเป็นพัก ๆ นำมาก่อนเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนได้ ซึ่งมักจะเป็นช่วงหัวค่ำ หรือเมื่อท้องฟ้าเริ่มมืด หรือเมื่ออยู่ในที่มืด หรือในขณะที่กำลังมีอารมณ์โกรธหงุดหงิดกังวล เพราะจะมีเลือดไปคั่งที่ม่านตา มุมระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาที่แคบอยู่แล้วก็จะยิ่งแคบลงไปอีก พอนอนพักหรือเป็นอยู่นานประมาณ 1-2 ชั่วโมงอาการเหล่านี้ก็จะบรรเทาลงได้เอง
ผู้ป่วยที่เป็นต้อหินเฉียบพลัน มักจะมีอาการที่ตาเพียงข้างเดียว แต่ตาอีกข้างหนึ่งยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นต้อหินเฉียบพลันได้เช่นกัน
ตาอาจบอดได้ในเวลา 1-2 สัปดาห์ นอกจากจะตาบอดแล้วยังอาจทรมานจากการมีอาการตาแดง ปวดตา และปวดศีรษะอยู่ตลอดเวลาด้วย
ผู้ป่วยจะมีอาการหลัก 3 อย่าง ได้แก่ “ปวดตา” ส่วนใหญ่จะปวดศีรษะข้างเดียวกันร่วมด้วย และอาจร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน, “ตาแดง” น้ำตาไหล และ “ตามัว” การมองเห็นลดลงมากมองไม่ชัด มองเห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ ซึ่งอาจทำให้ตาบอดอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วันหากรักษา
มักจะเป็นช่วงหัวค่ำ หรือเมื่ออยู่ในที่มืด หรือในขณะที่กำลังมีอารมณ์โกรธหงุดหงิดกังวล เพราะจะมีเลือดไปคั่งที่ม่านตา มุมระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาที่แคบอยู่แล้วก็จะยิ่งแคบลงไปอีก พอนอนพักหรือเป็นอยู่นานประมาณ 1-2 ชั่วโมงอาการเหล่านี้ก็จะบรรเทาลงได้เอง

               2.อาการต้อหินเรื้อรัง (Chronic glaucoma)



ผู้ป่วยจะมีอาการตามัวลงทีละน้อย ๆ เป็นแรมปี โดยในระยะแรกผู้ป่วยมักจะไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติแต่อย่างใด เพราะไม่มีอาการปวดตา ตาไม่แดง (เพราะกลุ่มนี้ความดันลูกตามักจะค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นทีละน้อย ไม่พรวดพราดเหมือนต้อหินเฉียบพลัน จึงไม่ทำให้มีอาการปวดตา และอาจทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เข้าใจผิดคิดว่าตนเองเป็นสายตาเสื่อมตามอายุซึ่งรักษาไม่ได้ หรือคิดว่าเป็นต้อกระจกซึ่งต้องรอให้ต้อแก่ก่อนแล้วค่อยรับการรักษา) แต่ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกมึนศีรษะได้เล็กน้อย อาจรู้สึกว่าเวลาอ่านหนังสือแล้วจะปวดเมื่อยตาเล็กน้อยหรือตาล้า ตาเพลีย และตาพร่าเร็วกว่าปกติ ต่อมาผู้ป่วยจะมีลานสายตาแคบลงกว่าเดิมมาก จึงทำให้มองไม่เห็นด้านข้าง อาจขับรถลำบาก เพราะมองไม่เห็นรถที่อยู่ทางด้านซ้ายและขวา หรือมองไม่เห็นรถที่กำลังจะแซง รถที่สวนมา หรือเวลาเดินอยู่ในบ้านก็อาจเดินชนขอบโต๊ะขอบเตียงได้
-ผู้ป่วยที่เป็นต้อหินชนิดเรื้อรังมักจะมีอาการกับตาทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน
-ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่าตามัวลงเรื่อย ๆ จึงต้องคอยเปลี่ยนแว่นอยู่บ่อย ๆ
-การดำเนินโรคจากเริ่มเป็นจนถึงการสูญเสียการมองเห็นจะใช้เวลานานเป็นปี ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต้อหินเรื้อรังที่เกิดจากการเสื่อมที่ไม่มีอาการใด ๆ จนกระทั่งสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดจะใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี (ด้วยการดำเนินโรคที่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปนี้ ตาของผู้ป่วยจะมัวลงทีละน้อยจนผู้ป่วยอาจไม่ทันรู้สึกตัว จึงจัดเป็นต้อหินแบบรุกเงียบที่ทำให้ตาค่อยๆ บอดอย่างช้าๆ เรียกว่า “บอดผ่อนส่ง”) ส่วนจะเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับว่าตรวจพบในระยะใด ถ้าตรวจพบตั้งแต่เริ่มเป็นก็จะสามารถควบคุมไว้ได้ แต่ถ้าตรวจพบในระยะที่เป็นมากแล้วหรือระยะท้าย ๆ คนกลุ่มนี้อาจสูญเสียการมองเห็นได้ในเวลาอันรวดเร็ว อาจจะเป็นเดือนก็ทำให้ตาบอดแล้ว
-หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาล่าช้าหรือรักษาไม่สม่ำเสมอจะทำให้ตาบอดได้ แต่ถ้าเริ่มรักษาตั้งแต่แรกก็มักจะรักษาสายตาที่เหลือเอาไว้ได้ กล่าวคือ การรักษาจะเป็นเพียงการช่วยชะลอไม่ให้สายตาที่เหลือเลวลง ส่วนสายตาที่เสียไปจะไม่กลับคืนมาได้เป็นปกติ และด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดคิดว่าแพทย์ให้การรักษาไม่ดีและเปลี่ยนแพทย์ไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายก็เลิกตรวจและรับการรักษาไปในที่สุด ส่งผลให้สายตาที่เหลืออยู่ลดลงเรื่อย ๆ จนบอดไปในที่สุด
-ผู้ป่วยที่ตาบอดจากต้อหินเรื้อรังส่วนใหญ่มักไม่มีอาการปวดตาเลย เรียกกันว่า “ตาบอดตาใส” แต่ผู้ป่วยบางรายก็ยังอาจมีอาการเจ็บปวดเคืองตาอยู่ตลอดเวลา ยังความทรมานแก่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก
 -ผู้ป่วยที่เป็นต้อหินชนิดเรื้อรังมักจะมีอาการกับตาทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน
-ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่าตามัวลงเรื่อย ๆ จึงต้องคอยเปลี่ยนแว่นอยู่บ่อย ๆ
- การรักษาจะเป็นเพียงการช่วยชะลอไม่ให้สายตาที่เหลือแย่ลง ส่วนสายตาที่เสียไปจะไม่กลับคืนมาได้เป็นปกติได้ และต้องเข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
-ผู้ป่วยที่ตาบอดจากต้อหินเรื้อรังส่วนใหญ่มักไม่มีอาการปวดตาเลย เรียกกันว่า “ตาบอดตาใส” แต่ผู้ป่วยบางรายก็ยังอาจมีอาการเจ็บปวดเคืองตาอยู่ตลอดเวลา ยังความทรมานแก่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
การวินิจฉัยต้อหิน มีดังนี้
1.การตรวจตาด้วย slit-lamp microscopy
2.การตรวจวัดความดันภายในลูกตา
3.การตรวจลักษณะมุมตา
4.การตรวจลักษณะของขั้วประสาทตา
5.การตรวจลานสายตา



การปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็นโรคต้อหิน 

                ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตเช่นคนปกติ แต่จะต้องเอาใจใส่ ใช้ยาตามเวลาที่จักษุแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด ตรวจตาอย่างสม่ำเสมอตามนัดของแพทย์
                สำหรับการออกกำลังกายนั้น ผู้ป่วยส่วนมากสามารถเล่นกีฬาได้ทุกชนิด ยกเว้นกีฬาที่ต้องห้อยศีรษะต่ำเป็นเวลานาน มีผู้ป่วยต้อหินบางชนิดเท่านั้นที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้ ซึ่งจักษุแพทย์จะเป็นผู้แนะนำ
                ถึงแม้ต้อหินส่วนใหญ่ รักษาให้กลับมาเป็นปกติไม่ได้ แต่การรักษาที่ถูกต้อง สามารถถนอมสายตาและประสาทตาไม่ให้เสื่อมมากขึ้นจนถึงขั้นตาบอดได้เนื่องจากต้อหินไม่สามารถรักษาให้หายขาด หรือให้เห็นดีขึ้น การป้องกันไม่ให้เกิดต้อหินจึงเป็นวิธีรักษาที่ดีที่สุด ถึงแม้ต้อหินส่วนใหญ่เกิดขึ้นเองและป้องกันไม่ได้ แต่มีหลายชนิดที่สามารถป้องกันได้ โดยเฉพาะต้อหินชนิดเฉียบพลัน หรือ ต้อหินมุมปิด ซึ่งพบได้มากในคนเอเชีย
ดังนั้นควรดูแลรักษาดวงตา หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ และไม่ซื้อยาหยอดตาใช้เอง ผู้มีอายุมากกว่า 35 ปี และมีแนวโน้มจะเป็นต้อหินได้ง่าย เช่น มีประวัติต้อหินในครอบครัว มีสายตาสั้นหรือยาว มีปานแดงหรือดำบริเวณใบหน้า เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณตามาก่อน ควรได้รับการตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 


 แนวทางการแก้ไขและการรักษาต้อหิน  
 เนื่องจากโรคต้อหินเส้นประสาทตาจะถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาจึงเป็นการประคับประคองเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้นและเพื่อคงการมองเห็นที่มีอยู่ให้นานที่สุด ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นกับชนิดและระยะของโรค
1.การรักษาด้วยยา เพื่อลดความดันตา ไม่ให้ประสาทตาถูกทำลายมากขึ้น ในปัจจุบันมียาหลายกลุ่มที่รักษาอาการดังกล่าว โดยยาจะออกฤทธิ์ลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาหรือช่วยให้การไหลเวียนออกของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาดีขึ้น ผู้ป่วยจึงต้องหยอดยาสม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่ง และต้องไปพบแพทย์ทุกครั้งเพื่อประเมินอาการของโรคตลอดจนติดตามผลการใช้ยาหรือผลข้างเคียงจากการรักษาซึ่งอาจเกิดขึ้นได้
2.การใช้เลเซอร์ โดยประเภทของเลเซอร์ที่ใช้จะขึ้นกับชนิดของต้อหินและระยะของโรค เลเซอร์เป็นวิธีที่ง่ายใช้เวลาไม่นานสามารถให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้แต่ ผลการรักษาอาจไม่แน่นอนขึ้นกับชนิดของต้อหิน มักจะต้องใช้การรักษาด้วยยาควบคู่กันไปด้วย
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh7tTG5pJri4WepaKqdDA_sfEXLQTNoRLAWUXpoerdF6hbdZak6R1923U7BbOlMu32G06v9AtujUz3bvx0mt-sRDeOeimvgY1adq7Pm9nmQcPTZ1PqhyNaryUC_4Yb9CrL4O21P7-4Bb_Xq/s320/6.jpg

              -Selective laser trabeculoplasty (SLT) เป็นการรักษาต้อหินมุมเปิด ใช้ในกรณีที่รักษาด้วยยาหยอดตาแล้วได้ผลไม่ดีนัก มักเลือกใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ โดยจะยิงเลเซอร์เข้าไปบริเวณ trabecular meschwork ที่อุดตันออก ให้น้ำเลี้ยงลูกตาสามารถระบายออกได้ เพื่อความดันในลูกตา

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiYMYbHAEDzC1DtwGk4fqUcbiBVjnwpey7M3juGTjV-ySc38w_OV4BrS9AxTNXr72KV7D4Z6L-sNvDRoZMgWuM7MzdFUvvwQ9sV47D4p_9_YWs6DRcH3F-Eg_y-Ruxi9Rnlr_vG90_kh4Ng/s400/7.jpg

             -Laser peripheral iridotomy (LPI) เป็นการรักษาต้อหินมุมปิด
โดยเลเซอร์จะยิงเข้าไปเปิดช่องเพื่อให้น้ำเลี้ยงลูกตาไปยังช่องด้านหน้าของลูกตาได้ แล้วระบายออกทาง trabecular meschwork เพื่อลดความดันในลูกตา

3.การผ่าตัด ใช้รักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่สามารถควบคุมความดันตาได้ มักจะทำก็ต่อเมื่อรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่ได้ผลแล้ว วิธีขึ้นกับชนิดของต้อหินและความรุนแรงของโรครวมทั้งภาวะ ทางตาอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ต้อกระจก เป็นต้น
             -Trabeculectomy เป็นการผ่าตัดทำทางระบายสำหรับน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาใหม่เพื่อลดความดันตา   การผ่าตัดจะช่วยให้ความดันลูกตากลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติและเลือดเข้ามาหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาทในลูกตาได้ดีขึ้น
             -Aqueous shunt surgery กรณีที่ผ่าตัดวิธีแรกไม่ได้ผล อาจทำการผ่าตัดด้วยการใส่ท่อระบายเพื่อลดความดันตา
























อ้างอิง
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2.  ต้อหิน (glaucoma)”.  (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ).  หน้า 950-952.
คณะกรรมการฐานข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพ ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.  โรคต้อหิน”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th.  [02 เม.ย. 2016].

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น